Pages

วันพฤหัสบดี, มกราคม 13, 2554

สุขหรือเศร้า Countdown 2010

หลายวันมานี้ ที่บราซิล มีแต่ข่าวน้ำท่วมอันน่าเศร้าสลดใจให้ได้ติดตาม ควบคู่มากับข่าวที่ ออสเตรเลีย จริงๆแล้วปีที่แล้ว ช่วงต้นปี 2010 ก็เกิดเหตุการณ์แบบนี้ คือ ฝนตกหนัก ดินถล่ม น้ำท่วม ปีที่แล้วฉั้นก็มาที่นี่และเป็นช่วงเดินทางกลับเมืองไทยพอดีที่มีข่าวว่าฝนตกจนดินถล่ม ฉั้นกับแฟบเดินทางกลับด้วยอาการเศร้าสลดเล็กน้อย กลับไปถึงก็รอฟังข่าวคราวจากทีวีว่าเหตุการณ์เป็นไงบ้าง ดีขึ้นรึยัง มาปีนี้ ฉั้นอยู่ที่นี่และเกิดเหตุการณ์แบบเดิม แต่หนักกว่าเดิมตรงที่ ฝนตกหนักจนน้ำท่วม ดินถล่ม ไม่เว้นแม้แต่ในตัวเมือง เซา เปาโล

บราซิล หนึ่งในประเทศโซนอเมริกาใต้ ที่ภูมิประเทศเต็มไปด้วยป่าเขา เนินเขา และภูมิอากาศ ร้อนชื้นและฝนตกชุก จริงๆแล้ว คำว่า "ร้อนชื้น" ของที่นี่เทียบอะไรไม่ได้ความร้อนชื้นในบ้านเรา อากาศที่นี่เย็นสบายกว่าเย้อะ จะหนาวหน่อยก็ช่วง กันยายน ถึง พฤศจิกายน อากาศจะลดต่ำลง อยู่ประมาณ 10-15 องศา(หรือต่ำกว่า) แต่พอเข้าช่วง ธันวาคม อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้นและเริ่มเข้าสู่หน้าร้อน


ความสุขของผู้คนที่นี่เวลาหน้าร้อนมาถึงก็คือ การได้เตรียม บิกินี่ แว่นกันแดด และแฟชั่นหน้าร้อนกันอย่างตื่นเต้นและเร่งรีบ การเก็บเกี่ยวบรรยากาศซัมเมอร์ ถือเป็นนาทีทอง เพราะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้นที่จะได้ดื่มดำ่กับแดดอุ่นๆ น้ำทะเล หาดทราย สายลม และท้องฟ้าใสๆ ซึ่งช่วงวันหยุดยาวที่ทุกคนรอคอยก็คือช่วงคริสต์มาสถึงปีใหม่พอดี ช่วงนี้ผู้คนจะเตรียมตัวฉลองกันแต่เนิ่นๆ โดยการจับจองที่พักตามชายหาดต่างๆ ที่แน่นขนัดที่สุดเห็นจะเป็นชายหาด โคปาคาบาน่า ที่ Rio de Janeiro (รีโอ ดิ จาเนโร) เพราะนอกจากสวยติดอันดับโลกแล้ว ยังมีงาน Countdown ที่จุดพลุอย่างอลังการตระการตาในทุกๆปี  ส่วนเมืองธุรกิจอย่าง Sao Paulo (เซา เปาโล) หากไม่มีกิจกรรมวิ่งมาราธอนประจำปี ระยะทาง 16 กิโลเมตร ที่คนมาร่วมกว่า 20,000 คน พร้อมกับคอนเสริ์ตและจุดพลุตระการตาที่ Paulista Ave. (ถนน เปาลิสต้า) ในช่วงเย็นของวันที่ 31 ธันวาคมแล้วละก็ คงจะกลายเป็นเมืองร้างพอกับที่กรุงเทพช่วงสงกรานต์นั่นล่ะ 

แม้รู้ว่าจะต้องฝ่าฟันรถติดอย่างหนักหน่วง เพื่อกลับเข้าสู่ตัวเมือง เซา เปาโล ในวันถัดมาหลังจากวันหยุดเสร็จสิ้น เพื่อกลับเข้าสู่ชีวิตจริงที่ต้องตื่นไปทำงานในสัปดาห์แรกของปีใหม่ แต่เหมือนพวกเค้าจะไม่หวั่น ขอให้ได้ปลดปล่อยสุดๆซักครั้งในรอบปี แต่เมื่อเวลาแห่งความสุขจบลง เหตุการณ์เศร้าสลดก็เกิดขึ้นตามมาทันที เมื่อลางบอกเหตุทางธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายธันวาคมเข้าสู่มกราคม คือฝนเริ่มตกพรำๆมาตลอด และเริ่มร้อนจัดจนเหงื่อแตกและตามมาด้วยฝนตกหนัก สลับกัน แบบนี้ไม่หยุด ภัยธรรมชาติโหมกระหน่ำหนักเข้าโดยไม่ทันตั้งตัว ฉั้นรู้ตัวอีกทีในวันที่มีีข้อความจากเมืองไทย ว่าแม่เป็นห่วง และอยากรู้ว่าฉั้นเป็นไงบ้าง ฉันยังงง และรีบเปิดข่าวดูทันที ไม่น่าเชื่อว่าแม่จะรู้ข่าวก่อนฉั้นซะอีก ทั้งที่อยู่เมืองไทย แต่ก็ดีแล้วล่ะเพราะนั่นหมายความว่า ฉั้นยังปลอดภัยดีอยู่ พอเปิดข่าวดูก็เห็นว่า ริโอ ดิ จาเนโร เมืองท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุด ของบราซิล และเซา เปาโล เมืองธุรกิจที่สำคัญที่สุด ของบราซิล หลายพื้นที่จมอยู่ใต้โคลนไปซะแล้ว

รู้อีกทีตอนทีเห็นภาพเนินเขาหลายๆเนิน ในหลายๆพื้นที่ ในเมือง ริโอ ดิ จาเนโร ถล่มลงมาเพราะปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไป ถึงเกือบ 300 ลูกบาศก์เมตร เริ่มเซาะมาจากด้านบนสุดของเนิน จนกระทั่งเนินทั้งเนินอ่อนตัวกลายเป็นโคลนและไหลทะลักทลาย ท่วมบ้านท่วมเมืองไปหมด ส่วนในโซนที่มีแหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง น้ำก็ล้นทะลัก ไหลท่วมเข้าถนนหนทาง ทั้งบ้าน ทั้งรถ ทั้งคน จึงไหลมาปะทะกันอย่างรุนแรง ถึงแม้พื้นที่ประสบภัยจะไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยว แต่นั่นยิ่งหมายความว่า บ้านเรือน หน่วยงานราชการ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล พังยับเยิน

ใน เซา เปาโล ถนน Marginal Ave. (มาร์จินาว) ซึ่งถือเป็นหนึ่งเส้นที่สำคัญและลากยาวไปตลอดรอบเมือง โดยเลียบขนานไปกับคลองขนาดใหญ่ที่ไปบรรจบกับแม่น้ำ Tietê น้ำก็ล้นและท่วมเข้าไปยังถนนใหญ่ๆอีกหลายสาย แต่ที่หนักหน่อยก็คือ ถนนบางสายที่มีอุโมงค์รอดใต้ถนนเพื่อเลี่ยงรถติด พอน้ำล้น หาที่ลงไม่ได้ จึงไหลลงอุโมงค์อย่างรวดเร็วและเชี่ยวกราก ในขณะเดียวกัน รถที่ติดยาวอยู่ในอุโมงค์ ขยับไปไหนไม่ได้ เมื่อน้ำเพิ่มระดับเร็วอย่างไม่คาดฝัน แรงดันอาจทำให้เปิดประตูรถไม่ออก หรือ ถึงเปิดออก...อาจว่ายนำ้ไม่เป็น หรือถึงว่ายน้ำเป็น..อาจจะตกใจจนทำอะไรไม่ถูก สุดท้าย...หลายๆคนต้องจบชีวิตอยู่ในนั้นอย่างน่าเศร้าใต้อุโมงค์

ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ ยอดผู้เสียชีวิตกว่า 500 ศพ ยอดผู้บาดเจ็บและผู้ที่กลายเป็นคนไร้บ้านกว่า 50,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นจำนวนของผู้คนใน ริโอ ดิ จาเนโร น่าเห็นใจจริงๆ ฉั้นยังไม่รู้ว่ารัฐบาลชุดใหม่เอี่ยมที่เพิ่งรับตำแหน่งไปเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาแบบสดๆร้อนๆ นั้นจะมีวืธีแก้ปัญหาและช่วยเหลือผู้คนยังไงได้ทันท่วงที ด้วยความกว้างใหญ่ไพศาลของประเทศบราซิลซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก รัฐบาลนั้นต้องนั่งบริหารงานที่เมืองหลวง คือ เมือง Brasilia (บราซีเลีย) ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศ (เค้าเคยวัดระยะทางพิสูจน์มาแล้วว่ากลางจริงๆนะ ฉั้นมีโอกาสไปบราซีเลียหนหนึ่ง เห็นเมืองที่ใหม่เอี่ยม ดูสะอาดสะอ้าน และเงียบสงบ เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวขจี และมีแต่หน่วยงานราชการสำคัญๆตั้งอยู่ และบ้านสวยๆติดทะเลสาบหลายหลัง (ซึ่งรู้มาว่า แต่ละหลังมูลค่ามหาศาล ส้วนเป็นบ้านพักของนักการเมืองใหญ่ๆโตๆ) ดูเป็นเมืองที่มีความเงียบสงบมากแต่ก็ไกลจาก เซา เปาโล และ รีโอ ดิ จาเนโร พอสมควร นั่งเครื่องบินไปก็ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว!) รัฐบาลชุดใหม่นี้ ถึงแม้มาจากการเลือกตั้งระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่แตกต่างจากเมืองไทยบ้านเราเลย ในแง่ที่ว่า ในประเทศที่มีคนยากจนมากกว่าจำนวนคนร่ำรวยและมีการศึกษา เวลาได้พรรครัฐบาลที่เสียงข้างมากมาจากคนกลุ่มใหญ่(หรือกลุ่มคนระดับกลางถึงล่าง) กระแสความไม่พอใจและจ้องจับผิดก็เกิดขึ้นทันทีอย่างเลี่ยงไม่ได้ สร้างความแตกแยกอยู่มากพอสมควรเพราะคนกลุ่มเล็กหรือกลุ่มคนระดับที่มีความรู้มีการศึกษาและฐานะดีหน่อย ก็อดวิพากษ์วิจารย์อย่างหนักไม่ได้เมื่อเหตุการณ์อุทกภัยนี้เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน และตั้งความหวังว่า รัฐบาลจะแก้ไขได้อย่างรวดเร็วจริงจัง แต่กว่าหนึ่งสัปดาห์ผ่านไปก็ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ยังไงก็ตามฉั้นก็ได้แต่ภาวนาให้ฝนหยุด อย่างน้อยซักช่วงให้พอน้ำแห้งลงบ้าง หน่วยกู้ภัยและรัฐบาลจะได้สามารถช่วยเหลือผู้คนที่ประสบภัยได้บ้างไม่มากก็น้อย


สำหรับฉั้น ถึงแม้ภัยจะอยู่ใกล้ตัวหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ยังโชคดีและปลอดภัย ขอบคุณสำหรับความห่วงใยจากหลายๆคน เพื่อนสนิทและพี่น้อง โดยเฉพาะ "แม่" ที่เป็นคนแรกเสมอในทุกสถาณการณ์(บ้านเมือง) 





อาคารรัฐสภา ในบราซิเลีย







สถานทูตไทยในบราซิล







ถนนมาร์จินาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...